วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอและใช้โลหิตแก่ผู้ป่วย

หน่วยงาน...แผนกพยาธิวิทยา กองอายุรกรรม รพ.รร.จปร.
หัวข้อกิจกรรม แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอและใช้โลหิตแก่ผู้ป่วย
ประเภทกิจกรรม การพัฒนางานประจำอย่างต่อเนื่อง
ระยะเวลาทำกิจกรรม ต.ค. 50 – ก.ย. 52
หลักการและที่มา แผนกพยาธิวิทยา รพ.รร.จปร.ไม่ได้เปิดบริการทางด้านธนาคารเลือด เนื่องจากแผนกพยาธิฯได้พิจารณาความเหมาะสมและปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น จำนวนเจ้าหน้าที่พยาธิ การซื้อเครื่องมือ-อุปกรณ์เพิ่มเติมและปริมาณความต้องการใช้โลหิต เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับโลหิตในการรักษา ได้รับโลหิตอย่างปลอดภัย เพียงพอและทันเวลา แผนกพยาธิฯจึงได้ร่วมกันทบทวนแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอและใช้โลหิตแก่ผู้ป่วยขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาระบบ ให้ได้แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอและใช้โลหิตแก่ผู้ป่วย
2.เพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับโลหิตอย่างปลอดภัย เพียงพอและทันเวลา
เป้าหมาย/เครื่องชี้วัดของกิจกรรม
1.อัตราจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยได้รับโลหิตผิดหมู่
เป้าหมาย = ร้อยละ 0 (ศูนย์)
2.อัตราจำนวนครั้งที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตได้ครบตามจำนวนที่ต้องการใช้
เป้าหมาย = ร้อยละ 0 (ศูนย์)
3.อัตราจำนวนครั้งที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตได้ทันภายในเวลาที่ผู้ป่วยต้องได้รับโลหิต
เป้าหมาย = ร้อยละ 0 (ศูนย์)
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1.ขั้นเตรียมอุปกรณ์ เขียนข้อมูลบนแผ่นสติกเกอร์ข้างหลอดขอเลือดและกรอกรายละเอียดในใบขอเลือด ให้ครบถ้วน เน้น ต้องเขียน ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ถ้าไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดเจน ฝ่ายงานธนาคารเลือด รพ.นครนายก จะให้กลับมาตรวจสอบใหม่
2.ขั้นการเจาะเลือด เพื่อป้องกันการเจาะเลือดผิดคน เจ้าหน้าที่เจาะเลือดต้องถามชื่อ – นามสกุลของผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยเป็นคนบอกชื่อ – นามสกุล ของผู้ป่วยเอง
3.เมื่อเจ้าหน้าที่แผนกพยาธิฯ ได้รับใบขอเลือดพร้อมตัวอย่างเลือด ให้เจ้าหน้าที่แผนกพยาธิฯ ตรวจหาหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ของผู้ป่วยแล้วบันทึก ลงในแบบฟอร์มบันทึกการจ่ายเลือด เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องตรงกันกับเลือดที่ได้ขอรับมาจากฝ่ายงานธนาคารเลือด รพ.นครนายก
4.ก่อนให้โลหิตแก่ผู้ป่วย พยาบาลหรือแพทย์ ต้องอธิบายเกี่ยวกับอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการได้รับโลหิตและให้ผู้ป่วยลงนามในใบยินยอมด้วย
5.กรณีที่ รพ.นครนายก ไม่มีเลือดสำรองเพียงพอ แผนกพยาธิฯจะประกาศเสียงตามสายของ รพ.รร.จปร.เพื่อขอรับบริจาคโลหิต จากข้าราชการ พลทหาร ญาติและผู้มารับบริการ ที่มีความประสงค์จะบริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วย
ผลลัพธ์ทางตรง
รอบปีงบประมาณ 2551 ( 1 ต.ค. 50 – 30 ก.ย. 51 )
จำนวนครั้งที่ขอโลหิต 74
จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยได้รับโลหิตผิดหมู่ 0
จำนวนครั้งที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตได้ครบตามที่ต้องการใช้ 0
จำนวนครั้งที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตได้ทันเวลาที่ต้องการใช้ 0
หมายเหตุ เดือน เม.ย. 51 พบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการให้เลือด PRC ยูนิตที่ 5จำนวน 1 ราย มีอาการหนาวสั่น ปวดหลัง แต่ตรวจสอบกลับแล้วพบว่า หมู่เลือดถูกต้อง การ Cross matching ถูกต้องตามขั้นตอน อาการดังกล่าวจึง อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยแพ้ต่อปฏิกิริยาของเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับจากโลหิตของผู้บริจาค (Donor)จำนวนหลายคน
สรุป ผลลัพธ์เป็นไปตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้
รอบปีงบประมาณ 2552 ( 1 ต.ค. 51 – ปัจจุบัน 30 มิ.ย. 52 ) รวม 9 เดือน
จำนวนครั้งที่ขอโลหิต 30
จำนวนครั้งที่ผู้ป่วย 0
ได้รับโลหิตผิดหมู่ 0
จำนวนครั้งที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตได้ครบตามที่ต้องการใช้ 0
จำนวนครั้งที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตได้ทันเวลาที่ต้องการใช้ 0
สรุป ผลลัพธ์เป็นไปตาม เป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ทางอ้อม
รอบปีงบประมาณ 2551 ( 1 ต.ค. 50 – 30 ก.ย. 51 )

จำนวนครั้งที่ขอโลหิต 74
จำนวนครั้งที่ขอโลหิต(เฉลี่ยต่อเดือน) 6.16
ชนิดและจำนวนโลหิตที่ขอ(ยูนิต) PRC=137
จำนวนโลหิตที่ส่งคืนกลับ รพ.นครนายก(ยูนิต) 24
จำนวนโลหิตที่ทิ้งเพราะไม่ใช้และหมดอายุ (ยูนิต) 7
รอบปีงบประมาณ 2552 ( 1 ต.ค. 51 – ปัจจุบัน 30 มิ.ย. 52 ) รวม 9 เดือน
จำนวนครั้งที่ขอโลหิต 30
จำนวนครั้งที่ขอโลหิต(เฉลี่ยต่อเดือน) 3.33
ชนิดและจำนวนโลหิตที่ขอ(ยูนิต) PRC=60
จำนวนโลหิตที่ส่งคืนกลับ รพ.นครนายก(ยูนิต) 7
จำนวนโลหิตที่ทิ้งเพราะไม่ใช้และหมดอายุ (ยูนิต) 5
มีประเด็นโอกาสพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
1. โลหิตที่ขอมาแล้วไม่ได้ใช้ ถ้ายังไม่หมดอายุ จะส่งคืนกลับไปให้ รพ.นครนายก เพื่อเป็นโลหิตสำรอง รพ.รร.จปร.แผนกพยาธิฯจะต้องขอรถพยาบาลเพื่อนำส่งเลือดคืน ทำให้สิ้นเปลืองทางธุรการและน้ำมัน
2. โลหิตที่ขอมาแล้ว ไม่ได้ใช้และหมดอายุ ซึ่งสาเหตุ อาจเกิดจากโลหิตที่ขอมา เป็นชนิด PRC และได้รับการเตรียมให้เป็นชนิดเปิด (Opened) ซึ่งต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหรือเตรียมแบบปิด (Closed) แต่หน่วยที่ขอส่งคืนแผนกพยาธิฯช้า จนหมดอายุ แผนกพยาธิฯจำต้องทิ้งทำลาย ผลคือ เป็นการใช้โลหิตบริจาคที่ไม่คุ้มค่า
มาตรฐานการปฏิบัติ
1.ขั้นการเขียนใบขอเลือดและเจาะเลือดผู้ป่วย
1.1 เขียนใบขอเลือดโดยกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ลงในใบขอเลือด (ขอได้ที่
แผนกพยาธิฯ) ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ระบุวันจะใช้ หรือ “ด่วน” ถ้า
กรอกรายละเอียดไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน ฝ่ายธนาคารเลือด รพ.
นครนายก จะปฏิเสธ ไม่รับดำเนินการให้ ต้องกลับมาแก้ไขให้ถูกต้องก่อน
1.2 การสั่งขอเลือดในคอมพิวเตอร์ระบบ MIS ให้ไปที่ Out NAYOK Blood Bank
Section แล้วเลือก Cross matching (gel test) แล้วเลือก ชนิดของโลหิตที่ขอ
และค่าการจัดการการรับบริจาคโลหิต ถ้าขอ 2 Units ก็ให้สั่งซ้ำ 2 ครั้ง รพ.
นครนายกสามารถเตรียมส่วนประกอบโลหิตได้ทุกชนิด
1.3 การเจาะเลือดผู้ป่วย ก่อนเจาะเลือดให้กรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ลงบน
สติกเกอร์ที่ติดอยู่ข้างหลอดไว้แล้ว ต้องกรอกให้ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ตรง
กับข้อมูลในใบขอเลือด ตามข้อ 1.1
1.4 ทำการเจาะเลือดผู้ป่วย อย่างถูกวิธี ไม่ให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง
( Hemolysis )และเจาะไม่ผิดตัว โดยถามว่า ชื่อ – นามสกุลอะไรครับ/ค่ะ
เพื่อให้ผู้ป่วยตอบชื่อ – นามสกุลของเขาเอง เมื่อการระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง ตรง
กับใบขอเลือดและข้างหลอด จึงทำการเจาะเลือด จำนวนประมาณ 3 มล. ใส่
ในหลอดสำหรับขอเลือดโดยเฉพาะ (ขอได้ที่แผนกพยาธิฯ) ไม่ต้องคว่ำ –
หงายหลอด ปิดจุก นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบขอเลือด
2. ขั้นลงทะเบียนและไปขอเลือด
2.1 ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ เจ้าหน้าที่แผนกพยาธิฯ ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลอดเลือด ใบขอเลือด และใบจ่ายเลือดใบเดิม (กรณีรับป่วยยังไม่จำหน่าย และมีการขอเลือดซ้ำอีก – ต้องนำใบนี้ไปด้วยเพื่อตรวจสอบกับครั้งที่แล้ว )
2.2 ตรวจหาหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ของผู้ป่วย โดยวิธี Cell grouping – slide method จากเลือดที่ส่งมาพร้อมกับใบขอเลือด แล้วบันทึกผลการลงในแฟ้ม เบิก - จ่ายโลหิต
2.3 เตรียมอุปกรณ์ (กระติกและ Ice pack) สำหรับใส่หลอดเลือดไปขณะนำส่งและใส่ถุงเลือดกลับมา
2.4 ประสาน ผกบ.รพ.รร.จปร. ขอใช้รถและพลขับ ให้ไปขอเลือดที่ รพ.นครนายก
· ในเวลาราชการ โทร. 62525 ( บก.ผกบ.รพ.รร.จปร. )
· นอกเวลาราชการ โทร. 62786 ( ห้องศูนย์วิทยุ รพ.รร.จปร. ) เพื่อวิทยุแจ้งเวรพลขับให้รับทราบและแจ้งลำดับความเร่งด่วน หรือ
2.4.1 ใช้วิทยุความถี่ 148.05 MHz ตามนามเรียกขาน ดังนี้
· ห้องศูนย์วิทยุ รพ.ฯ = มงกุฎ 890
· เวรแผนกพยาธิ = มงกุฎ 8991
2.4.2 พลขับรถพยาบาลที่เข้าเวร ในวันนั้น จะมารับงานที่แผนกพยาธิ ตามเวลาที่เขากำหนด (ภายใน 15 นาที ) กรณี ขอเลือดด่วน จะใช้เวลา ไป - กลับ ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที นับจากแผนกพยาธิฯ ได้รับหลอดเลือดและใบขอเลือด
3. ขั้นการเก็บและขนย้ายโลหิต
3.1 เก็บในตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 ±2 องศาเซลเซียส เก็บได้นานตามชนิดของน้ำยากันเลือดแข็งที่ใช้ (อ่านรายละเอียดที่ข้างถุงเลือด)
3.2 การขนย้าย ควรบรรจุถุงโลหิต ในภาชนะที่มีอุณหภูมิ ใกล้เคียง 4 ±2 องศา
เซลเซียส (ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส)
3.3 เมื่อพลขับกลับจาก รพ.นครนายก มาถึง รพ.รร.จปร.
· ในเวลาราชการ ส่งกระติกให้เจ้าหน้าที่แผนกพยาธิ
· นอกเวลาราชการ วิทยุตามเวรพยาธิ (มงกุฎ 8991) ทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
4. ขั้นการจ่ายเลือดให้ผู้ป่วย
4.1 ก่อนจ่ายเลือด เจ้าหน้าที่แผนกพยาธิฯ จะลงทะเบียนในแฟ้ม เบิก – จ่ายโลหิต เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องของหมู่เลือด ความครบถ้วนของจำนวนโลหิต หมายเลขถุงเลือดที่ได้รับมา เก็บเอกสารการจ่ายเลือดของ รพ.นครนายก ไว้ที่แผนกพยาธิ เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะโทร.ให้ หน่วยที่ขอ มาเซ็นต์รับเลือดและชุด (Set)ให้เลือด ( อย่าลืมเอากระติกและ Ice pack มาคืนแผนกพยาธิ )
4.2 การให้เลือดแก่ผู้ป่วยที่ Ward, ER หรือ OR จะมีการปฏิบัติตามขั้นตอน ภายใต้การกำกับดูแล เฝ้าดูอาการ โดยแพทย์และพยาบาล อย่างใกล้ชิด
5. ขั้นการนำเลือด ส่งคืน รพ.นครนายก
5.1 เลือดที่ไม่ได้ให้แก่ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยที่ขอใช้เลือด จะนำส่งคืนมาที่แผนกพยาธิวิทยา เพื่อให้แผนกพยาธินำส่งคืนไปที่ รพ.นครนายก (จ่ายเฉพาะค่า Matching เท่านั้น)
5.2 เกณฑ์การพิจารณาการส่งคืนเลือด
· PRC ถ้าเตรียมแบบระบบเปิด ต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง (เลยเวลาห้ามใช้-ทิ้งลงถุงแดง)
· PRC ถ้าเตรียมแบบระบบปิด วันหมดอายุ ดูที่ข้างถุงเลือด
· เกล็ดเลือด มีอายุ 24 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุด 5 วันที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
· FFP เก็บที่ Deep freeze เมื่อนำมาละลายแล้ว ใช้ให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง (ไม่ใช้ให้ทิ้ง)
· ส่วนประกอบโลหิตชนิดอื่นๆ ดูวันหมดอายุที่ข้างถุงเลือด
· ขอ Plt conc. หรือ Cryoprecipitated ให้จองล่วงหน้า
6. กรณีที่ รพ.นครนายก ขาดแคลนเลือด แนวทางแก้ไข มีเป็นลำดับดังนี้
· ประสานกับ รพ.ชุมชน - รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มศว. - รพ.สระบุรี
· แผนกพยาธิ รพ.รร.จปร.ประสานญาติผู้ป่วย
· แผนกพยาธิ รพ.รร.จปร.ประกาศเสียงตามสายของ รพ.ฯ แจ้งให้ผู้ประสงค์บริจาคโลหิตทราบ (ผู้มารับบริการ, กำลังพลของ รพ.รร.จปร.)
· แผนกพยาธิ รพ.รร.จปร.ประสาน ผบ.มว.พล.สร.รพ.รร.จปร. – พัน.ร.รร.จปร. – รร.กส.ทบ. ที่ผ่านมาจะได้รับการช่วยเหลือจากพลทหารของ มว.พล.สร.รพ.รร.จปร.